วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต






ประวัติความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารถึงกันได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยประหยัดทรัพยากรและที่สำคัญอินเตอร์เน็ตคือคลังสมองอันยิ่งใหญ่หรือห้องสมุดโลกที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งความรู้นั้น
  
    ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต พอสรุปได้ดังนี้1.    ด้านการศึกษา (Tele Education) สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจาแหล่งศึกษาหรือผู้ที่สนใจจะลงทะเบียนเรียนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ ฯลฯ สามารถเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเราเรียกว่า การศึกษาทางไกล กลายเป็นทางเลือกใหม่ในการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการศึกษาผ่านทางอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.    โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
    การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
3.    ด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศอินเตอร์เน็ตจะช่วยในการสื่อสารสืบค้นข้อมูล และใช้ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากรร่วมกันได้ เช่น การส่งข้อมูลประวัติของอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
4.    ด้านธุรกิจ (E-Commerce) โดยเฉพาะธุรกิจได้มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นอันมาก ดังต่อไปนี้
      4.1    ด้านการธนาคาร (E-Banking) ธนาคารได้จัดทำระบบออนไลน์บนเครือข่ายที่ช่วยให้สามารถสอบถามยอดเงินและโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว มีการติดต่อสื่อสาร และมีข้อมูลบนเว็บเพจของทุกธนาคาร
      4.2    โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
      4.3    การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
5.    การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ อีเมล์ (E-mail : Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ประหยัด สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถพูดคุยกันได้เหมือนอยู่ใกล้กัน
6.    การประชุมทางไกล (Tele Conference) เป็นการประชุมของบุคคลที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมซึ่งสื่อสารได้ทั้งตัวอักษร เสียงและภาพพร้อมกัน

    ภัยอินเตอร์เน็ต
      ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้คุณประโยชน์ก็ย่อมจะมีโทษในตัวมันเองสังคมมนุษย์ก็เช่นกันย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป อินเตอร์เน็ตถือได้ว่า เป็นสังคมมนุษย์หนึ่งจากเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางแทนที่จะเป็นคำพูด ท่าท่าง ฯลฯ แต่อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมของคนทั้งโลกที่ไร้พรมแดน (Globalization)
     ไม่แบ่งชั้นวรรณะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นภัยแอบแผงอยู่มาก รวมทั้งคนเลวซึ่งได้แก่บรรดามิจฉาชีพ อาชญากรรม (แบบไฮเทค) ได้อาศัยอินเตอร์เน็ต เป้นที่แผงตัวและหากินบนความทุกข์ของผู้อื่น ขอเสนอมุมมองเรื่องราวอินเตอร์เน็ตในแง่ลบเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้เล่นเน็ตอยู่จะได้ระแวดระวังและไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรไฮเทคเหล่านี้
    หลายคนคงทราบว่าในอินเตอร์เน็ตมีสิ่งยั่วยุกามารมณ์ที่ส่อไปในทางลามกอนาจารอยู่มาก ถึงแม้จะไม่มีผลเสียที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา ต้องยอมรับว่ากว่า 50 % ของผู้ชายที่เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในครั้งแรก ๆ มักจะไปท่องหาเว็บที่มีภาพนู้ด ภาพโป้ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นการใช้เครื่องที่บ้าน ที่มีลูกหลานกำลังเรียนรู้และพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไปเข้าเว็บไซต์เหล่านั้น โดยไม่รู้ตัว เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องเว็บจะมีการเก็บบันทึกหมายเลขที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL – address) เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นในครั้งต่อไป
    ซึ่งหมายเลขที่อยู่นี้สามารถถูกเรียกกลับขึ้นมาใช้ได้ง่าย ๆ เด็ก ๆ อาจจะเผลอไปเรียกเข้าก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ทันที และอาจจะกลับไปดูซ้ำในครั้งต่อ ๆ ไป หากผู้ปกครองละเลยนาน ๆ เข้าภาพเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในความคิด ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเทศกับเพศตรงข้ามที่ส่อไปในทางที่ผิดและอาจเลยไปถึงกระทำความผิดอาญาได้เมื่อโตขึ้น ภัยประเภทนี้ผลเสียจึงเกิดขึ้นในทางอ้อมโดยจะตกอยู่กับเด็กซึ่งเป็นลูกหลานและครอบครัว
  
    ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
    คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระมีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANET)
    โครงการอาร์พาเน็ตอยู่ในความควบคุมดูแลของอาร์พา (Advanced Research Projects Agency หรือ ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนสนับสนุน แก่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)
    โครงการอาร์พาเน็ต ได้ริเริ่มขึ้น โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา  มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฏิบัติการ ที่แตกต่างกัน
    ต่อมาเครือข่ายอาร์พาเน็ตได้รับความนิยมอย่างมาก มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย
    ในประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในลักษณะของการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัย สงขานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยความร่วมมือระหว่างไทย และออสเตรเลียซึ่งการเชื่อมโยงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต (UUNET) ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่นสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET) ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ต ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือ สำนักวิทยาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    ในปีเดียวศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center หรือ NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ
    การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่อเพื่อใช้ระบบอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการแก่ผู้ใช้ ผู้ใช้ยังสามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์กรที่เรียกว่าผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต  Internet service provider (ISP) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 18 ราย (ข้อมูลปัจจุบันศึกษาได้จาก http://ntl.nectec.or.th/internet/index/html)
  
    การแทนชื่อที่อยู่อินเตอร์เน็ต
1.    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง (Direct internet access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่เป็นเกดเวย์ ในการเชื่อมต่อ สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน หรือผู้ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรงเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายในกาติดตั้งค่อนข้างสูง แต่มีข้อดีคือการรับ-ส่งข้อมูล จะสามารถทำได้โดยตรงทำให้รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ
2.    การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dial-up access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้านหรือที่ทำงานทั่วไปโดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่าโมเด็ม เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ เช่น ISP แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตเสมือนกับการต่อเชื่อมโดยตรง ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้คือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไป ยังต่างประเทศ

    เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web หรือ www)
    ในช่วงแรก ๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปรโตคอล telnet และใช้ ftp (file transfer protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 Tim Berners – Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ที่ประเทศสวัติเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเตอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้นและช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่าเว็บเพจ ที่สามารถเชื่อมโยง ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์
    ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่งที่อยู่ใน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว เครือข่ายของเอกสารเหล่านี้ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอข้อมูลนี้บนอินเตอร์เน็ตรู้จักโดยทั่วไปว่า World Wide Web (www) หรือ W3 หรือ Web และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจเรียกว่าเว็บไซต์ (Web Site)

    เว็บเพจ (Web Pages) คือ เอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กส์ หรือไฮเปอร์มีเดียซึ่งไฮเปอร์มีเดียเป็นสื่อประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ ภาพกราฟฟิส ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงการสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hypertext Markup Language หรือ HTML ซึ่งประกอบด้วยชุดของคำสั่งที่เรียกว่าแท็ก หรือมาร์กอัป
  
    ลักษณะของภาษา HTML

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง BLOG

     Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภ ท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภ ทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
Blog คืออะไร           Blog เป็นคำรวมมาจากศัพท์คำว่า เว็บล็อก (WeBlog) สามารถอ่านได้ว่า We Blog หรือ Web Log ไม่ว่าจะอ่านได้อย่างไรทั้งสองคำนี้ก็บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่าคือบล็อก (Blog)
          คำว่า "บล็อก" สามารถใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
ความเป็นมาของบล็อก          “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1997 เริ่มแรกคนที่เขียนบล็อกนั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเพจขึ้นเองทีละหน้า เขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่างๆ หลายๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ แต่ในปัจจุบันนี้ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียนบล็อกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ อีกทั้งยังมีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียนบล็อกได้มากมาย เช่น Drupal, WordPress, Movable Type เป็นต้น ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1999 และคำคำนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆ ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร จนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2003 ทาง Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004 และคนเขียนบล็อกก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่างๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่าบล็อกเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ, สิ่งพิมพ์, โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่าบล็อกได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง
          สำนักข่าวเอพีรายงานว่า “เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ “เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์” ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า “บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ “เว็บ บล็อก” (web log) โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า “บล็อก” บรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้ว แต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย” โดยทั่วไปคำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้น
          บล็อกมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสื่อในด้านอื่นจากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
ความหมายของคำว่า Blog          บล็อก คือรูปแบบหนึ่งของเว็บไซต์ เป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของบล็อกนั้นสามารถครอบคลุมได้ทุกเรื่อง มีเนื้อหาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัวที่สามารถเรียกได้ว่า ไดอารีออนไลน์ หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม การเมือง เทคโนโลยี กีฬา ธุรกิจการค้า เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่างๆ อีกมากมาย ตามความถนัด ความสนใจของเจ้าของบล็อก เพราะสิ่งสำคัญที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อกนั่นเอง
          บล็อกถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ที่ลำดับแรกสุด โดยปกติบล็อกจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ และสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ที่สามารถแสดงผลผ่านเว็บไซต์ได้
          จุดเด่น และจุดแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางระบบการแสดงความคิดเห็น (Comment) ของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเพื่อนๆ หรือครอบครัว

ส่วนประกอบของ Blog          บล็อกประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ
          1. หัวข้อ (Title)
          2. เนื้อหา (Post หรือ Content)
          3. วันเวลาที่เขียน (Date/Time)
การใช้งานบล็อก          ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บบราวเซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
          ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการบริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้ระบบการจัดการบล็อกจะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
          สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด (Feed) ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรงผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger




ขั้นที่ 1   การสมัครใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่างของ google ควรจะใช้ email ของ Gmail ดีที่สุดครับ

ดัง นั้นในขั้นแรกนี้ให้คุณเข้าไปที่ http://www.gmial.com/ เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้กับ google

ขั้นที่ 2   หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้ว ให้ไปที่ http://www.blogger.com/ เพื่อสร้างบล็อกกันเลยครับ
โดยในการสร้างบล็อกนั้น ก็ให้ใช้ บัญชีผู้ใช้ (user name + password) ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1



ขั้นที่ 3  ในขั้นต่อมาให้กรอก emailที่ได้จากขั้นที่ 1  ชื่อผู้เขียนบล็อก วันเกิด และยอมรับข้อตกลง
แล้ว Click ที่ปุ่มดำเนินการต่อ



ขั้นที่ 4  การตั้งชื่อเว็บบล็อกสามารถใช้ชื่อที่ชอบได้ตามใจ 
แต่การกำหนด URL จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น ๆ ถ้าซ้ำก็ใช้วิธีเปลี่ยนเป็นคำหรือวลีที่ใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ
(การตั้งชื่อและ URL ของบล็อกควรมี keyword ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเขียนด้วย)


ขั้นที่ 5  ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเลือกแม่แบบของบล็อก ให้เลือกแม่แบบใดก็ได้ครับ
เพราะเราจะมาทำการปรับแต่งแม่แบบได้ในภายหลัง ซึ่งผมได้เขียนบทความการเปลี่ยนแม่แบบเอาไว้รอท่านแล้ว




เมื่อจบ 5 ขั้นตอนข้างต้นถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วครับ  (ง่ายดายใช่ไหมครับ)



ขั้นที่ 6 ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้น
คุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก http://www.blogger.com/  หรือ draft.blogger.com 



6.1 ถ้าคุณอาจจะเริ่มเขียนบล็อกเลย ให้อ่านข้อแนะนำการเขียนบล็อกจากบทความ วิธีเขียน และจัดการบทความ
6.2 แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแม่แบบก่อนให้อ่านบทความ วิธี เปลี่ยน Templates ของ Blogger หรืออ่านวิธีออกแบบแม่แบบด้วยตัวเองจากบทความ เครื่อง มือสำหรับออกแบบแม่แบบด้วยตนเอง  

 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ blogเริ่มต้นสร้าง Web blog ของคุณเอง จากนั้นเล่าเรื่องราวในชีวิตของคุณให้คนอื่นๆได้รับทราบทางโลกออนไลน์

เว็บไซต์ Merriam Webstor OnLine ระบุว่าภายในปี 2004 ที่ผ่านมา คำศัพท์ที่มีผู้คนต้องการรู้ความหมายมากที่สุด เป็นคำที่คนส่วนใหญ่เคยได้ยินมา แต่เพิ่งเข้าใจความหมาย คำๆนี้ก็คือ blog นั่นเอง

เว็บไซต์พจนานุกรมออนไลน์แห่งนี้ให้ความหมาย blog ว่าเป็นเว็บไซต์ซึ่งเก็บบันทึกเรื่องราวส่วนตัว โดยมีการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆเอาไว้ รวมทั้งยังอาจมีไฮเปอร์ลิงก์ที่ผู้เขียนใส่ลงไปด้วย คำว่า blog นี้มาจากคำเต็มๆว่า Web log ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่คุณต้องการ เล่าสู่ให้คนอื่นๆได้รับฟังเอาไว้ในที่เดียวกัน ข้อมูลเหล่านี้อาจประกอบด้วยคำพูด ภาพถ่าย หรือแม้แต่เพลงก็ได้ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในโลกออนไลน์ ที่สามารถค้นหาได้ง่าย ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องส่งอีเมล์จำนวนมากไปให้คนอื่นๆอีกต่อไป

บันทึกเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวหรือแสดงความคิดเห็นของคุณเอง

Andrea Rennick ไม่จำเป็นต้องเปิดพจนานุกรมก็เข้าใจว่า blog หมายความว่าอย่างไร คุณแม่ลูกสี่ผู้นี้บันทึก Web log เกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวของเธอเองตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา เธอบอกว่า "ก่อนที่จะมีคำว่า blog เกิดขึ้นมา เราเรียกวิธีการนี้ว่าการจดบันทึกออนไลน์"

blog ของ Rennich มีชื่อว่า A Typical Life เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวของเธอเอง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่การออกไปผจญภัยเพื่อชอปปิงในวันเสาร์ ไปจนถึงภาพถ่ายลูกๆของเธอเอง รวมทั้งข้อความเตือนความจำเกี่ยวกับการประชุมในเร็วๆนี้ และเวลาที่ต้องไปเรียนวิชาเพนต์ลวดลายบนแก้วเป็นต้น

Rennick กล่าวว่า "มันเป็นพื้นที่ที่ดิฉันใช้แสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ส่วนคุณแม่คนอื่นๆจะเข้ามาแสดงความเห็นใจและช่วยดิฉันคิดหาวิธีแก้ปัญหา" เธอใช้เวลา 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงต่อวันเพื่อเขียนเรื่องราวต่างๆลง blog ของเธอเป็นประจำ ครอบครัวและเพื่อนๆของ Rennick รวมทั้งคุณปู่วัย 88 ปีกลายเป็นผู้อ่านประจำ blog ของเธอไปแล้ว

Rennick เป็นหนึ่งในผู้หญิงหลายพันคนที่บอกเล่าการใช้ชีวิตและประสบการณ์ของตนผ่าน blog ผลการศึกษาของบริษัทวิจัยตลาด Perseus Development กล่าวว่ามีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่สร้าง blog ขึ้นมา และมีผู้หญิงจำนวนมากกว่าที่คอยดูแล blog เหล่านี้

ทำไมผู้หญิงสนใจ blog

blog ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆรับทราบข่าวสารการเกิดของทารกคนใหม่ได้พร้อมกัน รับทราบอาการป่วยไข้ล่าสุดของบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้การวางแผนแต่งงานง่ายขึ้น แถมยังสร้างความรู้สึกร่วมของชุมชนต่างๆด้วย

Rennick กล่าวว่า "ผู้หญิงวางแผนแต่งงาน บอกเล่าเรื่องราวการตั้งครรภ์ การรับอุปการะเด็กกำพร้า และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามเพื่อนทุกข์โศกหรือหย่าร้างผ่านทาง blog ผู้หญิงสามารถมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวสองต่อสอง หรือสนทนาเป็นกลุ่มก็ได้ พวกเขาใช้ blog เป็นสื่อกลาง"

Tracy Kennedy นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตรอนโตเชื่อว่าการ blog ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงมีความแตกต่างกันอย่างมาก "ผู้หญิงมักเขียนบันทึกส่วนตัวและรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอาไว้ แต่ผู้ชายมักไม่ค่อยทำแบบนั้น ดังนั้น blog จึงเหมือนกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันมากกว่า"

เริ่มต้นสร้าง blog ของคุณเอง

การสร้าง blog ขึ้นมาถือเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง MSN Spaces ยอมให้คุณก่อตั้ง blog ของตนเองขึ้นมาได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แถมคุณยังเสียเวลาสร้าง blog แค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น วิธีการก็คือ

ล็อกออนเข้าไปใน MSN Spaces แล้วสร้างบัญชีชื่อของตนเองขึ้นมา
สร้างชื่อเฉพาะสำหรับ blog ของคุณ จากนั้นเขียนคำอธิบายสั้นๆให้คนอื่นๆทราบว่า blog บอกคุณเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
ใช้โมดูล blogging เพื่อเริ่มต้น blog ได้เลย

แต่คุณจำเป็นต้องตระหนักว่าควรมีการอัพเดต blog ของคุณเองเป็นประจำเพื่อทำให้ blog ของคุณมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้อ่าน Nancy Burton-Vulovic ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีบริษัท DigitalEve (องค์กรระดับโลกซึ่งให้ความสำคัญต่ออิทธิพลของผู้หญิงที่มีต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ) กล่าวว่า "blog แห่งใดซึ่งต้องการก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงจำเป็นต้องมีการเขียนข้อความใหม่ๆ ลงไปเสมอ เนื่องจากผู้คนต้องการย้อนกลับมาทุกวัน หรือทุกสองสามวันเพื่อดูว่ามีอะไรใหม่บ้าง ถ้าหากคุณไม่มีเวลาหรือไม่มีความสนใจมากพอที่จะใส่ข้อมูลใหม่ๆ ของคุณลงไปเรื่อยๆแล้วละก็ การทำให้ผู้คนสนใจก็จะเป็นเรื่องยากมาก"

ไซต์ blog อื่นๆประกอบด้วย Blogger, LiveJournal, Mo'time, HaloScan, QuickTopic และ Bloglines ซึ่งให้บริการฟรีสำหรับผู้ที่มีบัญชีชื่ออีเมล์ของ Hotmail หรือ MSN Messenger อยู่

ค้นหา blog ที่ถูกใจ

บริการเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของ blog ที่ชื่อ Technorati พบว่าในปัจจุบันมี blog มากกว่า 5 ล้านแห่ง คุณสามารถค้นหา blog เกี่ยวกับทุกเรื่องอาทิเช่นการเมือง สื่อมวลชน อาชีพเฉพาะ และความสนใจประเภทต่างๆ ถ้าหากต้องการค้นหา blog ที่คุณสนใจให้เข้าไปดูได้ในไดเรกทอรี blog อย่าง Bloglines หรือ Technorati ก็ได้

ใช้ blog อย่างปลอดภัย

สำหรับผู้หญิงซึ่งกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของตนเอง Rennick แนะนำให้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตนอย่างจำกัด ไซต์ส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงเลขที่บ้าน หรือแม้แต่อีเมล์แอดเดรสเอาไว้ คุณต้องจำเอาไว้อย่างหนึ่งว่าเมื่อคุณเผยแพร่ข้อมูลในเว็บแล้ว ทุกคนสามารถอ่าน blog ของคุณได้ ดังนั้นคุณควรเก็บรักษาความลับส่วนตัวที่คุณไม่อยากเผยแพร่เอาไว้ให้ดี

blog ยอดนิยม

Blog Sisters
Blogging Mommies
Generation Exhausted
Daria's Life
A Typical Life
The Mother of All Blogs
Twist of Kate
Me
Motherhood Is Not For Wimps